เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
เพราะโคตร... (10) ... หรือเกิดความถือตัวเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว นี้ชื่อว่า
ญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นรชนทำความถือตัวที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้วพิจารณาความถือตัวโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นรชนครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความถือตัว นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว ได้แก่ พึงกำหนดรู้ความถือตัวด้วยปริญญา 3
เหล่านี้ รวมความว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว
คำว่า และพึงประพฤติละเว้นจากความผลุนผลัน อธิบายว่า
ความประพฤติผลุนผลัน เป็นอย่างไร
คือ ความประพฤติด้วยอำนาจราคะของบุคคลผู้กำหนัด ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจโทสะของบุคคลผู้ขัดเคือง ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจโมหะของบุคคลผู้หลง ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจความถือตัวของบุคคลผู้ยึดติด ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจทิฏฐิของบุคคลผู้ยึดมั่นทิฏฐิ ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจอุทธัจจะของบุคคลผู้ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจวิจิกิจฉาของบุคคลผู้ลังเล ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจอนุสัยของบุคคลผู้ตกไปในพลังกิเลส ชื่อว่าความ
ประพฤติผลุนผลัน นี้ชื่อว่าความประพฤติผลุนผลัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :511 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า และพึงประพฤติละเว้นจากความผลุนผลัน อธิบายว่า พึงเป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความประพฤติผลุนผลัน
มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ คือ ประพฤติ เที่ยวไป เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า และพึงประพฤติละเว้นจากความ
ผลุนผลัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
นรชนไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ
ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป พึงกำหนดรู้ความถือตัว
และพึงประพฤติละเว้นจากความผลุนผลัน
[179] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นรชนไม่พึงยินดีสังขารเก่า
ไม่พึงทำความพอใจสังขารใหม่
เมื่อสังขารเสื่อมไปก็ไม่พึงเศร้าโศก
ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
คำว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เป็นอดีต ตรัสเรียกว่า สังขารเก่า
นรชนไม่พึงยินดี คือไม่พึงบ่นถึง ไม่พึงติดใจสังขารที่เป็นอดีต ด้วยอำนาจ
ตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก
ซึ่งความยินดี ความบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
รวมความว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า
คำว่า ไม่พึงทำความพอใจสังขารใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า สังขารใหม่
นรชนไม่พึงทำความพอใจ คือ ไม่พึงทำความชอบใจ ไม่พึงทำความรัก ไม่พึงทำ
ได้แก่ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนัด
ในสังขารที่เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ไม่พึงทำ
ความพอใจสังขารใหม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :512 }